

เมื่อจะทำประกันชีวิตและประกันสุขภาพจากเงินเก็บก้อนแรก อาจมีข้อสงสัยว่าควรจะแบ่งสัดส่วนการชำระเบี้ยประกันอย่างไรเพื่อไม่ให้กระทบการเงินส่วนอื่น ๆ และสามารถชำระเบี้ยประกันได้ครบระยะเวลาของสัญญา การจัดสรรเงินเพื่อทำประกัน อาจแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มตามลักษณะการได้มาของรายได้ คือ
▶ กลุ่มแรก คือกลุ่มที่มีรายได้หลักมาจากเงินเดือน
สามารถวางแผนแบ่งเงินมาทำประกันได้ง่าย เพราะมีรายได้สม่ำเสมอและแน่นอน โดยหลักการเบื้องต้น คือ ควรแบ่งเงินประมาณ 10 – 20% ของรายได้ในแต่ละเดือนมาทำประกัน และเพื่อไม่ให้กระทบกับเงินก้อนอื่น ๆ การทำประกันควรคำนึงถึงประโยชน์ของการทำประกัน ผลประโยชน์ทางด้านภาษี วงเงินความคุ้มครองเงินเก็บในอนาคต ที่เป็นนโยบายและมาตรการสำคัญของภาครัฐในการคุ้มครองความเสี่ยงของประชาชนผู้ฝากเงิน เพื่อให้มั่นใจได้ว่าผู้ฝากเงินจะได้รับเงินฝากคืนภายในวงเงินและระยะเวลาที่กำหนดตามกฎหมาย หากสถาบันการเงินที่ได้รับการคุ้มครองปิดกิจการ รวมถึงสวัสดิการค่ารักษาพยาบาล กรณีหากเกิดการเจ็บป่วยหรือเกิดอุบัติเหตุ และเมื่อเงินเดือนหรือรายได้เพิ่มขึ้น หากยังรักษาสัดส่วนของเงินสำหรับทำประกันไว้ได้เป็นอย่างดี ก็จะทำให้มีเงินเก็บและความคุ้มครองของประกันที่เพิ่มขึ้นด้วย เช่น
– เริ่มต้นเงินเดือนเดือนละ 15,000 บาท จัดสรรมา 10% ต่อเดือนสำหรับทำประกัน = 1,500 บาทต่อเดือน
จะทำให้มีเงินประกันเท่ากับ 1,500 X 12 = 18,000 บาทต่อปี
– ต่อมาถูกปรับเพิ่มขึ้นจนเป็น 50,000 บาท ขณะที่สัดส่วนการทำประกันยังคงไว้ที่ 10% ของรายได้ต่อเดือน คือ 5,000 บาทต่อเดือน จะทำให้มีเงินประกันเท่ากับ 5,000 X 12 = 60,000 บาทต่อปี
ดังนั้น ด้วยรายได้ที่เพิ่มขึ้น แม้สัดส่วนการทำประกันยังคงที่ แต่เบี้ยประกันที่จ่ายมากขึ้นจะทำให้ได้รับความคุ้มครองที่เพิ่มขึ้นอีกด้วย
▶ ผู้ที่มีรายได้ไม่แน่นอน (ฟรีแลนซ์และอาชีพอิสระ) ควรเริ่มจากความสามารถในการแบ่งเงินก้อนออกมาในแต่ละปี จากนั้นก็นำมาแบ่งเพื่อทำประกันประมาณ 10 – 20% ของรายได้ รวมถึงควรคำนึงถึงประโยชน์ของประกันเป็นสำคัญ และสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลหากเจ็บป่วยด้วย
ซึ่งการวางแผนประกันที่ดี จะเป็นการช่วยลดความเสียหายจากความเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา และปกป้องคุ้มครองชีวิตและทรัพย์สิน ลดความสูญเสีย ไม่ให้เกิดความเสียหายที่มากจนเกินไป ในบางกรณีผู้ทำประกันยังสามารถเข้าถึงแหล่งเงินกู้อย่างเร่งด่วนจากกรมธรรม์ เพื่อนำมาใช้ในเวลาจำเป็นได้อีกด้วย ดังนั้น ผู้ทำประกันจะได้รับทั้งสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลและผลประโยชน์จากการทำประกันอย่างเต็มที่
ทั้งนี้การทำประกันนั้นควรเริ่มจากการคุ้มครองตามความจำเป็นของตัวเราในเรื่อง ชีวิต สุขภาพ อุบัติเหตุ และการชดเชยรายได้ จากนั้นจึงค่อยขยายความคุ้มครองไปสู่ครอบครัวเพื่อคุ้มครองคนข้างหลัง เพื่อเป็นทุนการศึกษาบุตร เพื่อคุ้มครองทรัพย์สินและภาระหนี้สินของเรา หากเราจากไปก่อนวัยอันควร จะได้ไม่เป็นภาระให้ครอบครัว
ซึ่ง เอไอเอ อยากแนะนำ AIA Excellent (Non-Par) ประกันชีวิตเพื่อการสะสมทรัพย์ ที่จะช่วยคุณอย่างมีระบบ พร้อมรับสิทธิ์ลดหย่อนภาษีตลอดสัญญา สร้างวินัยทางการเงินที่ดี และยังอุ่นใจกับความคุ้มครองชีวิตที่มั่นคง และจุดเด่นผลิตภัณฑ์คือ
▶ รับประกัน ตั้งแต่ อายุ 15 วัน – 75 ปี
▶ ชำระเบี้ยประกันภัย 20 ปี
▶ เบี้ยประกันลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 100,000 บาท
▶ มอบผลประโยชน์เงินคืนเมื่อครบกำหนดสัญญารวมสูงสุด 340% ของจำนวนเงินเอาประกันภัย

หมายเหตุ
– AIA Excellent (Non Par) เป็นชื่อทางการตลาดของแบบ เอไอเอ เอ็กเซลเลนท์ (ไม่มีเงินปันผล)
– ผู้ขอเอาประกันภัยควรศึกษาทำความเข้าใจรายละเอียดข้อกำหนดและเงื่อนไขของความคุ้มครอง รวมทั้งข้อยกเว้นไม่คุ้มครอง ของผลิตภัณฑ์ประกันภัย และเงื่อนไขที่เอไอเอประกาศ ก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง
– ข้อกำหนดและเงื่อนไขของความคุ้มครองจะระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยที่ออกให้กับผู้ถือกรมธรรม์
ขอบคุณข้อมูล ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ทำได้มั่นใจใกล้ไกลพร้อมดูแล
ตัวแทนประกันชีวิต
และที่ปรึกษาการเงิน
ทีม Together 7