ประกันลดหย่อนภาษี

วิธีการคำนวนภาษี

เงินได้สุทธิ
สำหรับเงินได้สุทธิคือเงินได้ที่ต้องเสียภาษี ที่เราจะนำไปเข้าตารางการคำนวนภาษีตามขั้นมีสูตรดังนี้

 

เงินได้สุทธิ = เงินได้ – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน “

 

ค่าลดหย่อน คือ
รายการที่กฎหมายกำหนดให้เราสามารถนำไปหักจากเงินได้อีกทีหลังหักค่าใช้จ่ายแล้ว ซึ่งจะช่วยให้เราเสียภาษีน้อยลง

 

ภาษีที่ต้องจ่าย
จะเป็นจำนวนเงินที่เรานำเงินได้สุทธิมาคูณอัตราภาษีแล้วรวมกันเข้าไปเป็นฐานภาษีที่เราต้องจ่าย

 

ภาษีที่ต้องจ่าย = เงินได้สุทธิ x อัตราภาษี “

ประกันลดหย่อนภาษี ในบทความนี้เราจะเน้นรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องแบบประกันลดหย่อนภาษี ในปี 2568 ตัวไหนดี น่านำมาวางแผนการลดหย่อนจะมี 3 แบบหลักๆ ดังนี้
  1. ประกันชีวิตทั่วไป
  2. ประกันบำนาญ
  3. ประกันสุขภาพ
ประกันชีวิตทั่วไป      สำหรับประกันชีวิตทั่วไปที่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ ได้แก่
  1. ประกันแบบชั่วระยะเวลา
  2. ประกันชีวิตแบบตลอดชีพ
  3. ประกันชีวิตสะสมทรัพย์
  4. ประกันชีวิตควบการลงทุน (Unit Linked) สำหรับประกัน Unit linked ส่วนที่นำมาลดหย่อนได้จะเป็นค่าการประกันภัยและค่าใช้จ่ายอื่นๆของกรมธรรม์ แต่ในส่วนของเงินที่นำไปลงทุนในกองทุนรวมนั้นยังไม่สามารถนำมาหักลดหย่อนได้
ค่าเบี้ยประกันชีวิตแบบทั่วไปนี้จะสามารถนำมาลดหย่อนได้ตามจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท และประกันชีวิตของคู่สมรสที่ไม่มีรายได้ก็สามารถลดหย่อนได้ตามจริงแต่ไม่เกิน 10,000 บาท โดยเงื่อนไขแบบประกันที่ใช้สำหรับลดหย่อนภาษี คือ
  • ต้องมีระยะเวลาคุ้มครองไม่น้อยกว่า 10 ปี
  • หากมีเงินคืนทุกปี เงินคืนจะต้องไม่เกินร้อยละ 20 ของเบี้ยประกันรายปี
  • กรณีไม่ได้จ่ายเงินคืนทุกปี แต่คืนตามช่วงระยะเวลาที่บริษัทประกันภัยกำหนด เช่น คืนทุก 2 ปี, 3 ปี หรือ 5 ปี เป็นต้น เงินคืนจะต้องไม่เกินร้อยละ 20 ของเบี้ยประกันชีวิตสะสมของแต่ละช่วงระยะเวลาที่ผู้รับประกันภัยกำหนดให้มีการจ่ายเงินหรือผลประโยชน์ตอบแทนคืน
สำหรับแบบประกัน AIA ที่นิยมนำมาลดหย่อนภาษีได้แก่
  1. AIA SAVING SURE ประกันออมทรัพย์ ระยะสั้น 10 ปี AIA ให้ผลตอบแทนสูง
  2. AIA Excellent ประกันสะสมทรัพย์ ชำระเบี้ย 20 ปีคุ้มครอง 20 ปี
  3. AIA Endowment 15/25 ประกันสะสมทรัพย์ ชำระเบี้ย 15 ปี คุ้มครอง 25 ปี
  4. AIA PAY LIFE PLUS ประกันแบบตลอดชีพเลือกชำระเบี้ย 10, 15 หรือ 25 ปี คุ้มครองถึงอายุ 99 ปี
ประกันบำนาญ ประกันชีวิตแบบบำนาญจะเป็นแบบประกันที่ออกมาแบบมาเพื่อวางแผนเกษียณให้กับลูกค้าโดยเฉพาะ สามารถลดหย่อนเพิ่มเติมได้อีก 200,000 บาทจากประกันชีวิตทั่วไป หรือสูงสุด 300,000 (กรณียังไม่ได้ใช้สิทธิลดหย่อนภาษีจากประกันชีวิตทั่วไป) แต่จะลดหย่อนได้ไม่เกิน 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี และเมื่อนำไปรวมกับส่วนการออมเพื่อการเกษียณอื่นๆที่ได้รับสิทธิ์ลดหย่อนภาษี เช่น กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ, กบข., กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน, กองทุนการออมแห่งชาติ, กองทุน RMF, กองทุน SSF รวมกันแล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท เงื่อนไขของประกันบำนาญที่นำมาลดหย่อนภาษีได้ คือ
  • ต้องมีระยะเวลาคุ้มครองตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป
  • ต้องมีการจ่ายผลประโยชน์เป็นรายงวดแบบสม่ำเสมอ
  • กำหนดช่วงอายุของการจ่ายผลประโยชน์ในช่วงอายุตั้งแต่ 55 ถึง 85 ปีหรือมากกว่านั้น
  • ต้องจ่ายเบี้ยประกันครบก่อนถึงจะได้รับผลประโยชน์
ตัวอย่างประกันบำนาญเพื่อการลดหย่อนภาษีของเอไอเอ
  1. AIA ANNUITY FIX ชำระเบี้ยถึงอายุ 59 ปี รับบำนาญตั้งแต่อายุ 60-85 ปี
  2. AIA ANNUITY SURE เลือกชำระเบี้ยได้ทั้งแบบสั้น 9 ปี หรือ ระยะยาวถึงอายุ 60 ปี รับบำนาญได้จนถึงอายุ 90 ปี
ประกันสุขภาพ สำหรับการทำประกันสุขภาพเพื่อนำมาลดหย่อนภาษีได้นั้นจะมีอยู่ 2 รูปแบบคือ
  • เบี้ยประกันสุขภาพที่ทำให้ตัวเอง สามารถลดหย่อนภาษีได้ตามจริงไม่เกิน 25,000 บาท และเมื่อรวมกับประกันชีวิตแบบทั่วไปแล้วจะต้องไม่เกิน 100,000 บาท
  • เบี้ยประกันสุขภาพที่ทำให้พ่อแม่ ลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 15,000 บาท ซึ่งจะมีเงื่อนไขคือ ต้องเป็นบุตรตามกฏหมาย (ไม่รวมบุตรบุญธรรม) พ่อแม่ต้องมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี
ตัวอย่างแผนประกันสุขภาพ ที่นำมาใช้ลดหย่อนภาษีได้ของเอไอเอ ได้แก่
  1. AIA H&S เบี้ยประกันราคาถูก เริ่มต้นวางแผนประกันสุขภาพ
  2. AIA H&S Extra ประกันสุขภาพให้ความคุ้มครองทั้ง IPD และ OPD
  3. AIA Health Saver ประกันสุขภาพกึ่งเหมา คุ้มครองวงเงินระดับต้นถึงกลาง
  4. AIA Health Happy แผนประกันสุขภาพเหมาจ่าย แบบ “เหมา เบิ้ล คุ้ม”
  5. AIA Health Plus แผนประกันสุขภาพเหมาจ่าย สำหรับมนุษย์เงินเดือน
  6. AIA Infinite Care แผนประกันสุขภาพเหมาจ่ายแบบคุ้มครองทั่วโลก
อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : ประกันสุขภาพ AIA

ติดต่อเรา


ณัฐวุฒิ เนตรเจริญ (ดุ๊ก)

ที่ปรึกษาประกันชีวิต บริษัท เอไอเอ จำกัด ใบอนุญาตตัวแทนประกันชีวิตเลขที่ 6701044209